ฟังวิทยุออนไลน์

ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จาก หลักฐานลายพระหัตถ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทูลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ลงวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2478 ซึ่งสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงเล่าตอนหนึ่งว่า “...เรื่อง ตำบลหนองบัวลำภูนั้นเมื่อหม่อมฉันขึ้นไปตรวจราชการมณฑลอุดร ได้สืบถามว่าอยู่ที่ไหน เพราะเห็นเป็นที่สำคัญมีชื่อในพงศาวดารเมื่อครั้งสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ยกกองทัพขึ้นไปช่วยพระเจ้าหงสาวดี ตีกรุงศรีสัตนาคณหุต ได้พาพระนเรศวรราชบุตรไปด้วย เมื่อไปถึงหนองบัวลำภู พระนเรศวรไปประชวรออกทรพิษ พระเจ้าหงสาวดีจึงอนุญาตให้กองทัพไทยยกกลับมา...” และสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงเล่ารายละเอียดในพระนิพนธ์ เรื่องประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราชไว้ว่า “... ถึงปีจอ พ.ศ. 2117 ได้ข่าวไปถึงเมืองหงสาวดี ว่า พระเจ้าไชยเชษฐาเมืองล้านช้าง ไปตีเมืองญวนเลยเป็นอันตรายหายสูญไปและที่เมืองล้านช้างเกิดชิงราชสมบัติกัน พระเจ้าหงสาวดีเห็นได้ทีก็ยกกองทัพหลวงไปตีเมืองเวียงจันทน์ ครั้งนั้นตรัสสั่งมาให้ไทยยกกองทัพไปสมทบด้วย สมเด็จพระมหาธรรมราชาฯ กับสมเด็จพระนเรศวรเสด็จไปเองทั้ง 2 พระองค์ เวลานั้นสมเด็จพระนเรศวรพระชันษาได้ 19 ปี เห็นจะได้เป็นตำแหน่ง เช่น เสนาธิการในกองทัพ แต่เมื่อยกไปถึงหนองบัวด่านของเมืองเวียงจันทน์ เผอิญสมเด็จพระนเรศวรไปประชวรออกทรพิษพระเจ้าหงสาวดีทรงทราบก็ตรัสอนุญาตให้ กองทัพไทยกลับมามิต้องรบพุ่ง พระเจ้าหงสาวดีได้เมืองเวียงจันทน์แล้วก็ตั้งให้อุปราชเดิม ซึ่งได้ตัวไปไว้เมืองหงสาวดีตั้งแต่พระมหาอุปราชาตีเมืองครั้งแรกนั้น ครองอาณาเขตล้านช้างเป็นประเทศราช ขึ้นต่อกรุงหงสาวดีต่อมา ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สำหรับประวัติความเป็นมาของอนุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ก็เนื่องมาจากพระยาอุดรธานีศรีโขมสาครเขตต์ (จิตร จิต ตะ ยโศธร) อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นเขยเมืองหนองบัวลำภูได้เอาใจใส่ในสภาพความเป็นอยู่ของอำเภอหนอง บัวลำภูเสมอ คราวหนึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ รัชกาลที่ 9 ได้เสด็จพระราชดำเนินจังหวัดอุดรธานี เจ้าคุณอุดธานีได้กราบทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงทราบว่าเมืองหนองบัวลำภู เป็นเมืองมาแต่สมัยโบราณปรากฏในพงศาวดารว่าเมื่อ พ.ศ. 2117 สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้เสด็จมากับพระราชบิดา (พระมหาธรรมราชาสมัยที่เป็นเมืองขึ้นของกรุงหงสาวดี) เพื่อไปช่วยพระเจ้ากรุงหงสาวดีรบกรุงล้านช้าง พอยกทัพมาถึงตำบลหนองบัว สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประชวรเป็นไข้ทรพิษ พระเจ้าหงสาวดีจึงให้ยกทัพกลับกรุงศรีอยุธยา เพื่อ เป็นเครื่องระลึกและอนุสรณ์แห่งอำเภอหนองบัวลำภู ควรได้สร้างพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราชไว้ที่ตำบลหนองบัวลำภู ให้ประชากรและผู้ที่เกิดมาภายหลังได้ทราบและระลึกถึงพระองค์ท่านสืบไป ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเห็นชอบด้วย
คณะกรรมการได้ปรึกษาตกลงกันให้กรมศิลปากรปั้นพระรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราชใน ท่ายืนขนาดเท่าพระองค์จริง เมื่อกรมศิลปากรสร้างเสร็จ จึงอัญเชิญมาประดิษฐานไว้เป็นอนุสรณ์ ที่ศาลริมหนองบัวฝั่งตะวันออก


image รูปภาพ
image
image
image
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar